เรื่องราวการเล่นหุ้นของ น.พ. ยรรยง พันธุ์วงศ์กล่อม
เรื่องราวการเล่นหุ้นของ น.พ. ยรรยง พันธุ์วงศ์กล่อม
ชื่อของน.พ.ยรรยง พันธุ์วงศ์กล่อม โด่งดังขึ้นมาในราวต้นปี 2545 หลังจากที่เขาเข้ากว้านซื้อหุ้น บล.ซีมิโก้ จำนวน 5.095 ล้านหุ้น จนกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10.87% และใช้เวลาเพียงวันเดียวขายหุ้นทั้งหมดออกจากพอร์ต
จากนั้นชื่อของ น.พ.ยรรยง ก็ถูกดึงเข้าไปพัวพันกับสร้างราคาหุ้นของหลายบริษัท กระทั่งมีข่าวอีกว่าหมอใช้ "นอมินี" เข้าซื้อหุ้น บล.ยูไนเต็ด ร่วมกับ นายสมพงษ์ ชลคดีดำรงกุล หรือ "เสี่ยปู่" และเพื่อนร่วมก๊วนจนกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 14% ในโบรกเกอร์แห่งนี้
นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผู้คนในแวดวงตลาดหุ้นตั้งคำถามว่า ชายผู้นี้เป็นใคร?...มาจากไหน?
นักเลงหุ้นคนนี้มีความน่าสนใจมากกว่าการเป็นแค่ "นักเสี่ยงโชค"
น.พ.ยรรยง เริ่มลงทุนในตลาดหุ้นเมื่อปี 2532 ขณะที่ดัชนีประมาณ 600 จุด เคยผ่านวิกฤตการณ์ซัสดัมเมื่อปี 2533 ผ่านเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535 เคยผ่านยุคที่ตลาดหุ้นบูมสุดๆ เกือบ 1,800 จุด เมื่อต้นปี 2537 เคยผ่านเหตุการณ์ลอยตัวของค่าเงินบาท ปี 2540 และผ่านยุคตกต่ำที่สุดของตลาดหุ้นตอนดัชนีลงมาเหลือ 200 จุด เมื่อปี 2541
ไม่เพียงหมอรอดมาได้เท่านั้น แต่พอร์ตของเขากลับขยายเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด
ใน ยุคที่อิรักบุกคูเวตเมื่อปี 2533 น.พ.ยรรยงมีพอร์ตเล่นหุ้นเพียงแค่ 1-2 ล้านบาท เท่านั้น แต่วันนี้พอร์ตของหมอมีมูลค่าเฉียดพันล้านบาท หมอบอกว่า ปัจจุบันเขาซื้อขายหุ้นเฉลี่ยเดือนละ 1,000 ล้านบาท หรือปีละกว่า 10,000 ล้านบาท
เริ่มลงทุนด้วยเงิน 5 แสนบาท
เรียนจบทันตแพทย์จาก รั้วมหิดลใน ปี 2525 และกลายเป็นหมอฟันเด็กที่มีอนาคตรุ่งโรจน์คนหนึ่งของวงการ โดยเริ่มต้นอาชีพหมอฟันด้วยการร่วมทุนกับเพื่อนเปิดคลินิกแถวถนนเทเวศน์ ขณะนั้นหมอมีรายได้เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าเดือนละ 2 แสนบาท แต่หมอกลับคิดว่า "อาชีพหมอฟันไม่รวย แค่พอกินพอใช้เท่านั้น"
หมอเล่าว่าเริ่มเข้าสู่ ตลาดหุ้นเมื่อปี 2532 ขณะที่มีอายุประมาณ 31-32 ปี สมัยนั้นตลาดหุ้นเปิดครึ่งวันเช้า ช่วงเช้าหมอจะไปเล่นหุ้นช่วงบ่ายก็กลับคลินิก หมอทำอย่างนี้ประมาณ 3-4 ปี ก็ค้นพบว่าการเล่นหุ้นเป็นสิ่งที่ท้าทายกว่าอาชีพหมอฟัน เพราะโลกของหมออยู่แต่ภายในห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ ตั้งแต่เช้ายันเย็น
"ผม ชอบเล่นหมากรุก การเล่นหุ้นก็เหมือนการเดินหมาก ต้องใช้ความคิดตลอดเวลา ก็เลยตัดสินใจทิ้งอาชีพหมอฟันมาเล่นหุ้น ทั้งที่ตอนนั้นรายได้จากการเล่นหุ้นน้อยกว่ารายได้จากการทำฟัน" หมอเล่าให้ฟัง
"ตอนที่เริ่มสตาร์ทผมลงเงินไป 500,000 บาท ตอนนั้นเลือกหุ้นที่คิดว่ามี "ราคาถูก" ผมจะซื้อหุ้นที่ราคาตกลงมามากๆ เลือกหุ้นที่มีพี/อี เรโชต่ำ และซื้อหุ้นที่มีราคาต่ำกว่าพาร์ เพราะเราคิดว่าราคาถูก" นั่นคือสิ่งที่หมอบอกว่า เขาเริ่มต้นเล่นหุ้นจากที่ไม่มีความรู้อะไรเลย
ประสบการณ์เล่นหุ้น ช่วงแรกๆ จึงไม่ราบลื่น สิ่งที่หมอคิดว่า "ราคาถูก" และ "ปลอดภัย" กลับตรงกันข้าม เล่นช่วงแรกเจ๊งมาตลอดจนเหลือเงินอยู่ 180,000 บาท
สุดท้ายต้องกลับมาทบทวนใหม่แล้วค่อยๆ เรียนรู้ ถ้ามัวแต่ยึดข้อมูลในอดีต สักวันคงหมดตัวแน่!!!"
ตาม ความเห็นของหมอ หุ้นเป็น "Dynamic" ฉะนั้น 1+1 ในตลาดหุ้นไม่จำเป็นต้องได้ผลลัพธ์เท่ากับ 2 เสมอไป ทฤษฎีการลงทุนบางครั้งก็ใช้ไม่ได้ แต่ต้องให้ประสบการณ์เป็น "ครู"
"ผม ก็กลับมาทบทวนดูว่า ต้องเปลี่ยนวิธีเล่นใหม่ ก็ตั้งเป็นเกณฑ์ว่า เมื่อไรที่เราเล่นหุ้นมีกำไร นั่นแหละวิธีการที่ถูก เมื่อใดที่เราเล่นหุ้นขาดทุนนั่นแหละวิธีการที่ผิด"
เขาจึงได้บท สรุปว่า "จงทำตามแนวโน้มตลาด" อย่าฝืนเอาชนะ ดังนั้นกฎข้อแรกที่หมอได้เรียนรู้ ก็คือ "หุ้นยิ่งขึ้นต้องยิ่งซื้อ หุ้นยิ่งตกต้องยิ่งขาย"
เขาเชื่อในตรรกะที่ว่า "ในสวรรค์ยังมีสวรรค์ ในนรกยังมีนรก" ทำให้เขาค้นพบว่าวิธีการเล่นหุ้นที่ดีที่สุดต้องเล่นหุ้น "ตามกระแส" จึงอยู่รอดในวงการนี้
เงินเป็นแค่ "วัตถุ" ใช้ซื้อความสุขไม่ได้
ไม่ น่าเชื่อว่าเบื้องหลังนักเลงหุ้นพันล้านอย่างน.พ.ยรรยงกลับเรียบง่าย เป็นนักเล่นหุ้นติดดิน จนอาจจะเรียกว่า "หลุดกรอบ" วิถีชีวิตของคนรวย ตรงข้ามกับวิธีคิดที่เฉียบคม และอยู่ในขั้นปราดเปรื่องคนหนึ่งของวงการ
"ผม ว่าความสุขมันไม่ได้อยู่ที่สิ่งของ ไม่ใช่ว่ามีบ้านใหญ่แล้วจะนอนหลับ มันไม่เกี่ยว ความสุขมันไม่ได้อยู่ที่ว่าเงินคุณซื้อได้ ตอนนี้ผมอายุ 44 ปี อย่างมากผมก็อยู่ได้อีก 30 ปี ยังไงผมตายไป เงินผมก็ยังเหลือ" หมอบอก Biz&Money ไว้อย่างนั้น
คำนิยาม "ความสุข" ของน.พ.ยรรยง จึงแตกต่างจากหลายคน
หมอบอก ว่า นักเล่นหุ้นทั่วไปที่เขารู้จักส่วนใหญ่จะอยู่ในกรอบทั่วๆ ไป "แต่สำหรับผมจะหลุดกรอบออกมา อย่างเช่น เมืองนอกผมจะไม่ไปเลย จำได้ว่าเคยไปไกลสุด คือ สิงคโปร์ ผมชอบเที่ยวเมืองไทยมากกว่า ผมชอบการเดินป่าเป็นชีวิตจิตใจ ไปกี่ครั้งก็ไม่เบื่อ....นี่แหละคือความสุขของผม "
วันหยุด เสาร์-อาทิตย์ หมอชอบไปดูหนัง แต่วันธรรมดาหลังตลาดหุ้นปิดทุกเย็นหมอชอบไปวิ่งที่สวนลุม เขาให้เหตุผลว่าบรรยากาศก็ดี และไม่ต้องเสียตังค์...วันไหนที่หุ้นตก ก็จะวิ่งหลายรอบหน่อย!
แต่หมอไม่ชอบไปตีกอล์ฟ และจะเข้าฟิตเนสเป็นบางครั้ง แต่จะไม่เลือกที่เป็นของฝรั่ง(ที่อยู่ในตึกที่หมอเล่นหุ้น) ซึ่งเขาบอกว่า "ค่อนข้างจะ Anti ฝรั่งในเรื่องนี้"
โดยชีวิตส่วนตัวหมอบอกว่าตัว เองเป็นคนใช้เงินไม่เก่ง "10 ปีที่แล้วผมใช้เงินยังไง! วันนี้ก็ยังใช้เงินยังงั้น ปรัชญาของผมคิดว่าความสุขมันไม่ได้อยู่ที่เงิน การที่ผมทำเงินได้มาก เป็นเพราะผมชอบงานทางด้านนี้ ผมจะภูมิใจทุกครั้งที่ผมชนะมันมากกว่า"
แต่การใช้ชีวิตกลับตรงกัน ข้าม ยกตัวอย่างนาฬิกาทุกวันนี้เขาใส่ไซโก้เรือนละ 9 พันบาท "ถ้าเป็นเพื่อนๆ เขาก็ใส่โรเล็กซ์ ตัวผมไม่เคยให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้ ผมมองว่าคุณค่าในตัวผมมีค่ามากกว่าพวกเสื้อผ้า รองเท้า หรือนาฬิกามาก ผมเดินไปไหน คนที่รู้จักเขาก็รู้ว่าผมรวยอยู่แล้ว ดังนั้นไม่มีความจำเป็นต้องใส่ของแพงๆ เพื่อให้คนอื่นรู้ว่าผมรวย"
หมอยังกล่าวอีกว่าสไตล์การใช้ชีวิตจะเน้นแบบง่ายๆ ชอบซื้อเสื้อผ้าลดราคา และรถที่ใช้ทุกวันนี้ก็เป็นรถเก่า
"ผม ไม่เคยซื้อรถป้ายแดงใช้ เพราะผมมองว่าราคารถใหม่มันสูงเกินไปสำหรับเมืองไทย รถยุโรปราคาคันละ 1-2 ล้านบาท ผมรออีก 3 ปี ผมสามารถซื้อมันในราคา Discount 50% ผมซื้อรถผมไม่ได้ขับไปโชว์ใคร แต่ผมจะดูสมรรถนะของมันมากกว่า"
ปัจจุบันนี้หมอใช้รถวอลโว่ 850 ซึ่งเขาบอกว่า "ใช้มาแล้ว 6 ปี" ทุกครั้งที่จะซื้ออะไร? หมอจะมองที่ประโยชน์ของมันมากกว่า
"ซื้อ นาฬิกาค่าของมันอยู่ที่ "เวลา" ซื้อรถยนต์ ค่าของมันอยู่ที่ "สมรรถนะ"ในการขับ นี่คือคอนเซ็ปท์การใช้ชีวิตของผม อย่างเงินผมได้มาหลายร้อยล้านบาท ผมมี 500 ล้าน หรือมี 1 พันล้านบาทวันนี้ สำหรับผมมันไม่ได้ต่างกัน มันก็แค่ตัวเลข ยังไง! ผมก็ใช้ไม่หมด ทุกวันนี้ส่วนตัวใช้เงินแค่ 1-2 หมื่นบาทต่อเดือนเท่านั้น"
เงินที่ หามาได้ ส่วนหนึ่งหมอจะแบ่งไปทำบุญ "ตอนนี้ผมเอาไปทำบุญกับมูลนิธิสัตว์ ซื้ออาหารเลี้ยงหมา แมวจรจัดเดือนละ 1 แสนบาท ผ่านมูลนิธิของพี่สาวผม อีกส่วนหนึ่งก็ตั้งเป็นกองทุนการศึกษาให้กับเด็ก "สถาบันราชภัฏ" เป็นกองทุนประมาณ 5 แสนบาท ถ้าหมดก็ให้มาขอ คือ ถ้าผมทำอะไรเพื่อสังคมได้ ผมก็ทำ มันก็เป็นความสุขอีกอันหนึ่ง"
หมอกล่าวว่าทุกวันนี้ไม่เคย คิดว่า การเล่นหุ้นเป็นการหาเงิน "ผมไม่เคยมีเป้าหมายว่าจะต้องได้เงินเท่าไร? แต่ผมคิดว่าการเล่นหุ้นมันเป็นความสุข มันท้าทาย...วันนี้ถ้าผมลงทุนผิด ผมจะต้องไปนอนคิดว่าทำไม! มันถึงผิด"
ความฝันของหมอคือ เป็นเจ้าของ "โบรกเกอร์" อยากใช้เวทีนี้ให้ความรู้กับนักเล่นหุ้น "ผมตั้งใจมานานแล้ว" ก่อนหน้านี้เคยยื่นประมูล บล.ธนสยาม กับ บล.วชิระ ซิเคียวริตี้ส์ แล้วไม่ได้ จึงเข้ามาเป็นพันธมิตรกับ บล.ยูไนเต็ด "ใจของผมคืออยากเผยแพร่วิธีการเล่นหุ้นว่าทำไม! ผมถึงเล่นหุ้นแล้วได้กำไร"
"จริงๆ แล้วตอนนี้ผมมองเงินเป็นแค่วัตถุอย่างหนึ่ง ผมไม่ได้นอนนับเงินแล้วมีความสุข เดี๋ยวนี้มีหลายร้อยล้านผมก็ยังใช้ชีวิตเหมือนเดิม ยังใส่รองเท้าแตะมาเล่นหุ้นทุกวัน เงินสำหรับผมมันก็เป็นแค่ตัวเลขทางบัญชีเท่านั้นเอง" เขากล่าว
ทั้ง หมดนี้คือ ตัวตนที่แท้จริงของ"น.พ.ยรรยง พันธุ์วงศ์กล่อม" ผู้ร่ำรวยมาจากการเล่นหุ้น แต่เป็นอีกคนหนึ่งที่ไม่เคยคิดกอบโกยความสุขจากเงินที่หามาได้
ทฤษฎีจำกัดความเสี่ยง สูตรเล่นหุ้นนอกตำรา
บาง คนอาจจะลุกขึ้นมาฉีกตำราการลงทุนทิ้งเมื่อรู้ว่าความสำเร็จของน.พ.ยรรยง ไม่ได้เกิดจากการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานอย่างที่ร่ำเรียนกันมา
สำ หรับน.พ.ยรรยง ตำราเดียวที่อ้างอิงได้ก็คือ "ทฤษฎีจิตวิทยามวลชน" ถึงแม้เขาจะไม่ได้ใช้ศัพท์คำนี้มาอธิบาย แต่รูปแบบและวิธีลงทุนของเขาบ่งชี้ว่าเขาเล่นหุ้นแบบ "กระแสนิยม"
หมอ คนนี้มีหลักคิดแหวกแนวตั้งแต่ยังมีอาชีพ "หมอฟัน" เจ้าตัวบอกว่าเวลาจะคิดค่าทำฟันลูกค้า แทนที่จะกำหนดราคาตามป้ายแต่กลับคิดราคาตาม "ฐานะ" ของลูกค้าแต่ละคน
"ดูแล้วคนไหนรวยผมก็คิดแพง คนไหนไม่ค่อยมีเงิน ผมจะทำให้ฟรี" นี่คือวิธีการทำการค้าที่กรมการค้าภายในอาจไม่ชอบใจนัก
ถึงจะเล่นหุ้นนอกตำราแต่วิธีจำกัดความเสี่ยงที่หมอเรียกว่ากฎเอาตัวรอดสำหรับนักเล่นหุ้นระยะสั้นก็คือ
ถ้าขาดทุนต้องรีบ "Stop Loss" หมายถึง "รีบขายเพื่อหยุดยั้งการขาดทุน"
ถ้ายังมีกำไรให้ถือต่อไป ซึ่งในตำราฝรั่งเรียกว่า "Let the Profit Run"
และกฎอีกข้อหนึ่งคือ "เมื่อมีกำไรแล้วห้ามกลับมาขาดทุน"
ถ้า มีใครไปถามหมอว่า "ไปลอกกฎของฝรั่งมาเหรอ!" เขาจะรีบปฏิเสธและบอกว่า "ผมไม่ค่อยเชื่อวิธีของฝรั่ง ไม่เห็นว่าจะเก่งกว่าเราตรงไหนเลย..."
หมอมักย้ำเสมอว่า "ตำรา" ที่เขาใช้ คือ "ประสบการณ์" และเรียนรู้มาจากเพื่อนในวงการมากกว่า
อย่างไรก็ตาม "ทฤษฎีจำกัดความเสี่ยง" ของหมอ เป็นสิ่งที่น่าสนใจ และต้องนำมาขยายความเพิ่มเติม
วิธี จำกัดความเสี่ยงอันดับแรก คือ คุณต้องอ่านสภาวะตลาดหุ้นให้ออก ต้องตอบตัวเองได้ว่าพรุ่งนี้ หรืออาทิตย์หน้า หรืออีก 1 เดือนข้างหน้า ว่าตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไร? หุ้นที่ถืออยู่จะเป็นอย่างไร?
"ผมมองว่าอะไรที่ตอบไม่ได้ หรืออะไรที่คุณไม่รู้ คือ...ความเสี่ยง แต่อะไรที่คุณรู้ คือ..ไม่เสี่ยง" น.พ.ยรรยงกล่าว
ยก ตัวอย่างเช่นหุ้นบริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ (บาฟส์) "หุ้นตัวนี้ผมได้เงินเยอะ" ถ้าเราดูจากข่าวหนังสือพิมพ์ บาฟส์หาผู้แทนจัดจำหน่ายได้ดี และทำโฆษณาได้ดี คือ ออกทั้งวิทยุ หนังสือพิมพ์ และโทรทัศน์ มันทำให้เกิดกระแสนิยมขึ้นมา ทำให้ความต้องการหุ้นตัวนี้สูงขึ้นเรื่อยๆ
"ผมจะดูว่ากิจการเป็น อย่างไร? ผูกขาดรึเปล่า! รายได้ และกำไรเป็นอย่างไร? ผู้บริหารวางแผนเพิ่มสภาพคล่องโดยการแตกพาร์ เราก็จับจุดตรงนี้ รู้ว่ามวลชนมีความต้องการมาก ในแง่ของราคา IPO ก็ต่ำ จำนวนหุ้นที่ออกมาก็ไม่มาก ผมก็ได้ข้อสรุปตรงนี้ว่าผู้บริหารคงอยากจะให้หุ้นของตัวเองขึ้น"
จาก นั้นก็เจาะลงไปดูรายละเอียดของผู้บริหาร อย่างแรกเลยต้องรู้ว่าผู้ถือหุ้นเป็นใคร? ผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ การบินไทย 30% สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 10% บริษัทน้ำมัน 5 แห่ง ถือหุ้นรวมกัน 43% และการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย 6%
"ผมก็ตั้งคำถามว่าแล้วผู้ ถือหุ้นใหญ่จะขายหุ้นออกมั้ย! ผมก็ประเมินว่าเขาคงไม่ขายแน่! ดังนั้นถ้าผมเจอหุ้นอย่างนี้บอกได้เลยว่า "ได้เงิน" เพราะเราประเมินออกตั้งแต่แรกว่า หุ้นตัวนี้มีดีมานด์มากกว่าซัพพลาย ลักษณะการซื้อ คือ ผมจะซื้อหุ้นที่ประเมินแล้วว่าตลาดจะเกิด "ความนิยม" เพราะฉะนั้นความเสี่ยงจะต่ำ"
หมอตั้งข้อสังเกตว่า จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ถ้าพบว่าผู้บริหารตั้งใจจะเอาหุ้นเข้าตลาด "เพื่อขาย" หุ้นตัวนั้นจะไปไม่ไกล หลักในการดูตรงนี้ หมอบอกว่า...อันนี้ดูง่ายมาก
"ผมจะบอกหลักให้เลย ไปดู "สัดส่วน" ของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ถ้าผู้ถือหุ้นใหญ่ถือคนเดียว 20-30% อย่างนี้ไม่มีปัญหา แต่ถ้าไปดูแล้วเห็นสัดส่วนมันกระจายยาวเป็นหางว่าว อย่างนี้มีเจตนาชัดเจนว่าต้องการขายออก"
เช่นคนแรกถือ 15% คนที่สองถือ 7% คนที่ 3 ลงมาถือคนละ 5% ไล่ลงมาเหลือ 4% 3% 2% อย่างนี้บอกได้เลยว่ากระจายให้นอมินีถือแล้วตั้งใจขายออกหลังเข้าตลาด หุ้นประเภทนี้จะไปได้ไม่ไกล หมอจึงแนะนำว่าวันที่จะทำกำไรดีที่สุด ก็คือ "ขายวันแรก" แต่ถ้าเจอหุ้นดี เรามองออกว่าราคาจะไปไกล ดีที่สุด ก็คือ เราต้อง "ซื้อวันแรก"
หมอมีวิธีประเมินมูลค่าหุ้นอย่างไร?
อย่าง แรกต้องรู้พื้นฐานของหุ้นให้หมด เช่น P/E เท่าไร? Book Value เท่าไร? ยอดขายเท่าไร? กำไรเท่าไร? ผู้ถือหุ้นเป็นใคร? มีหุ้นจดทะเบียนกี่หุ้น สัดส่วนที่ถือมีใครบ้าง! อยู่ในมือผู้ถือหุ้นใหญ่กี่เปอร์เซ็นต์
"เวลา ผมจะซื้อหุ้นผมต้องรู้ข้อมูลพวกนี้ให้หมด แต่เวลาซื้อหุ้นจริงๆ จะไม่สนใจว่าราคาหุ้นสูงกว่า P/E กี่เท่า สูงกว่า Book Value กี่เท่า ผมไม่ได้นำมาใช้ตัดสินใจ เป็นแค่ตัวสนับสนุนว่าหุ้นที่เราซื้อมีพื้นฐานรองรับแค่ไหน"
ส่วน เรื่องราคา หมอคิดว่าจะมีกลไกตลาดรองรับเองว่าควรจะอยู่ตรงไหน! เขาจะไม่ค่อยให้ความสำคัญ แต่ยินดี "ซื้อแพง" ถ้ามั่นใจว่าสามารถ "ขายแพง" กว่าราคาที่ซื้อมา แต่สำหรับหุ้น IPO จากประสบการณ์ของหมอ ถ้าหุ้นตัวไหนที่มีความนิยมสูง ราคาหุ้นวันแรกจะ "เปิด" กระโดด
"ผม จะดูอารมณ์ของตลาด ถ้าน่าสนใจผมจะเข้าไปซื้อตอนเปิดตลาดวันแรก อย่างหุ้นบาฟส์ผมได้หุ้นจอง 60 บาท ราคาเปิดกระโดดวันแรก ผมก็เข้าเก็บที่ 94 บาท มาซื้ออีกทีที่ 100 บาท 110 บาท และ 120 บาท จากนั้นก็หยุดซื้อ พอขึ้นมา 140 กว่าบาท ผมก็ขาย"
เขาอธิบายอีกว่าเวลาได้หุ้นจองมา ส่วนหนึ่ง ก็จะมา "เฉลี่ย" กับ "ต้นทุน" ที่ซื้อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นี่คือหลักจำกัดความเสี่ยง "ฟังผมพูดเหมือนจะมีความเสี่ยง...แต่จริงๆ แล้วไม่มี เช่น ผมได้หุ้นจองมา 3 หมื่นหุ้น ในราคา 60 บาท พอเข้าตลาดวันแรกผมเริ่มซื้อที่ราคา 94 บาท สมมติซื้อเข้าไปอีก 3 หมื่นหุ้น ผมก็จะเฉลี่ยต้นทุนโดยเอา 60 บวก 94 หาร 2 ต้นทุนผมก็จะอยู่ที่ 77 บาท ก็ยังได้กำไรเยอะเมื่อเปรียบเทียบกับราคาในตลาด
แสดงว่าผมไม่มีความ เสี่ยงเลยใช่มั้ย!...เพราะทุกครั้งที่เรา "มีกำไร" เท่ากับว่าเรา "ไม่มีความเสี่ยง" ตราบใดที่เรา "ขาดทุน" ถึงจะเรียกว่ามี "ความเสี่ยง"
เขา เล่าว่าตอนที่จองหุ้นบาฟส์ได้หุ้นมาไม่เยอะ จำได้ว่าครั้งแรกเข้าไปซื้อที่ราคา 94 บาท ซื้อไปประมาณ 5 แสนหุ้น แล้วมาซื้อที่ 100 บาท อีกประมาณ 2-3 แสนหุ้น โดยทุกสเต็ปท์ที่ซื้อจะลดจำนวนหุ้นลงเรื่อยๆ
"วิธีการของผม ก็คือ เวลาที่ผมซื้อหุ้นขาขึ้น ผมจะลดสัดส่วนลงประมาณครึ่งหนึ่งทุกครั้ง"
สมมติ ว่าเขาเริ่มซื้อหุ้นบาฟส์ที่ราคา 94 บาท จำนวน 5 แสนหุ้น ซื้อที่ 100 บาทที่ 2.5 แสนหุ้น ซื้อที่ 110 บาทที่ 1.25 แสนหุ้น และซื้อที่ 120 บาทที่ 6.25 หมื่นหุ้น (เวลาซื้อหุ้นขาขึ้นจะลดจำนวนหุ้นลงสเต็ปท์ละ 50%) เขาจะใช้เงินไปทั้งหมด 93.25 ล้านบาท เท่ากับว่าต้นทุนเฉลี่ยของเขาจะอยู่ที่หุ้นละ 99.46 ล้านบาท
"ซื้อ อย่างนี้เพื่อให้ "ต้นทุน" เฉลี่ย "ต่ำกว่า" ราคาตลาด "พอเราเห็นว่าราคามันขึ้นไปเยอะก็รอดูอย่างเดียว เพื่อหาจังหวะขาย" เขาบอกเคล็ดลับนี้ให้ฟัง
ปรัชญาการจำกัดความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งของหมอ คือ เวลาหุ้นขึ้นมาแรงๆ ถ้าขึ้นมาถึง 50% ยังไง!ก็ขาย เพราะยังไง!หุ้นก็ต้องปรับตัวลง
และถ้าหุ้นลงมาถึง 50% ยังไง!ก็ต้องซื้อ เพราะยังไง!ก็ต้องปรับตัวขึ้น
"มันเหมือนกับเป็นสูตรในใจผมเลยว่าถ้าหุ้นขึ้น 50% ลง 50% ยังไง!ก็ต้องปรับตัว" เขาเชื่อเช่นนั้น
แต่ กรณีที่ซื้อแล้ว ราคามีแนวโน้มลดลง หมอจะไม่ยอมให้ "กำไร" กลับมาเป็น "ขาดทุน" อย่างเด็ดขาด เขาจะใช้วิธีลดความเสี่ยงโดยการทยอยขายหุ้นออกจากพอร์ต
น.พ.ยรรยง ได้อธิบายปรัชญาของเขาว่า "จะกำไรน้อย หรือกำไรมากไม่สำคัญเท่ากับ ทำยังไง!ก็ได้ไม่ให้กำไรต้องกลับมาเป็นขาดทุน เพราะมันเป็นวิธีเล่นหุ้นที่ผมถือว่าตัวเอง "โง่" มาก"
หมอสรุปให้ ฟังว่า กฎการจำกัดความเสี่ยงของเขาจริงๆ แล้วมีอยู่แค่ 4 ข้อ คือ หนึ่ง ขาดทุนต้อง "Cut Loss" (ยอมตัดขาดทุน) สอง ถ้ามีกำไรให้ถือต่อ สาม ถ้ามีกำไรห้ามกลับมาขาดทุน และสี่ ถ้าขาดทุนครั้งแรกต้องหยุดการลงทุน มิฉะนั้นจะทำผิดซ้ำสอง
"นี่คือกฎเกณฑ์ที่ผมจะยึดถือเอาไว้ตลอด ผมถือคติว่าถ้าเราผิดครั้งแรกแสดงว่าเราเริ่ม:-) มองหุ้นไม่ออก แสดงว่าสิ่งที่เรามองว่าถูกที่จริงมันผิด อย่างนี้ผมจะลงจากเวทีชั่วคราว"
หมอ ยังมีกฎอีกว่า จะไม่เล่นหุ้นที่มีสภาพคล่องต่ำ จะซื้อเฉพาะหุ้นที่มีสภาพคล่องซื้อขายสูง และจะเล่นเฉพาะหุ้นที่อยู่ใน "กระแสนิยม" ขณะนั้น
เขาเปรียบวิธีการเลือกหุ้นของตัวเองว่าเหมือน ดูเทรนด์แฟชั่น "สมมติว่าคนกำลังบ้าหลุยส์วิตตอง ผมก็จะซื้อหลุยส์วิตตอง ถ้าผมประเมินว่าหุ้นตัวนี้กำลังจะไป ดูข้อมูลทุกอย่างแล้วเข้าคอนเซ็ปท์ ผมจะเข้าไปซื้อเลยโดยไม่สนใจราคา แต่ถ้าคนเลิกเห่อ....ผมก็เลิกเล่น" ดังนั้นเขาจึงไม่สนใจว่าหุ้นที่ซื้อราคาจะ "ถูก" หรือ "แพง"
หากจะ ว่าไปแล้วสไตล์การเล่นหุ้นของน.พ.ยรรยงจัดว่า "เฉียบคม" อย่างยิ่ง เขากล่าวว่า "สไตล์ของผมคือเล่นหุ้นตาม "แฟชั่น" คือผมไม่ชอบนำแฟชั่น และไม่ชอบตามแฟชั่น แต่ผมจะ "เกาะกระแส" แฟชั่น เพราะผมเชื่อว่า นี่คือวิธีการจำกัดความเสี่ยงที่ดีที่สุด"
อาจจะพูดได้ว่าน.พ.ยรรยงก็คือ "นักเก็งกำไร" ที่เฉลียวฉลาด เพราะไม่ใช่แค่ตามแห่ แต่มีหลักการของการเก็งกำไรพอตัวทีเดียว
"วอลุ่ม" เป็นปัจจัยหนึ่งที่หมอใช้เป็นเงื่อนไขในการซื้อหรือขาย
ช่วง ไหนที่ตลาดไซด์เวย์วอลุ่มไม่ค่อยมี หมอจะหยุดดู และทำตัวเหมือนกับ "เหยี่ยว" ที่รอคอยจังหวะเข้าโฉบเหยื่อ เมื่อไรก็ตามที่เขาบอกตัวเองว่าช่วงนี้หุ้น "เล่นยาก" ลงทุนไปก็ไม่คุ้ม เขาจะหยุดเล่นเลย นี่เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ทำให้น.พ.ยรรยงแตกต่างจากนักเก็งกำไรทั่วไป
นัก เล่นหุ้นคนนี้ล่ำซำมาได้ไม่ใช่เพราะ "โชคดี" แต่เป็นเพราะเขาเลือกจับเฉพาะ "ปลาใหญ่" และกล้า "วางเดิมพันหมดหน้าตัก" ในช่วงที่ตลาดหุ้นบูม เพราะเขามองว่าเป็นช่วงจังหวะที่ดีที่สุดของการทำกำไร และ "จำกัดความเสี่ยง"
จากประสบการณ์ที่ผ่านมา น.พ.ยรรยงเชื่อว่า ตลาดหุ้นมี "ฤดูกาล" ของมัน ในแต่ละปีจะมีช่วง "นาทีทอง" อย่างน้อย 1-2 เดือน และเขาจะไม่ยอมปล่อยให้โอกาสทองนี้หลุดมือ
เขาเผยว่า จะไม่เล่นหุ้นแบบ "ทอดแห" และไม่ซื้อหุ้นโดยไม่มีเป้าหมาย "ผมถือคติว่าจะไม่จับปลาเล็ก ผมชอบจับ "ปลาวาฬ" วิธีการคือ จะซื้อหุ้นน้อยตัว แต่จะซื้อทีละเยอะๆ โดยมองผลตอบแทนต่อครั้งประมาณ 20-30% หรืออย่างน้อยก็ต้อง 10% ขึ้นไป
สำหรับนักลงทุนรายย่อยที่เขาเห็น ส่วนใหญ่จะซื้อขายหุ้นบ่อยเกินไป และหวังกำไรเพียงแค่ 3-4% ก็ขาย น.พ.ยรรยงบอกว่า "ภาษานักเล่นหุ้นเขาเรียกว่า "กินน้ำหวานบนปลายมีด" คือได้รับผลตอบแทนน้อย แต่ลิ้นคุณต้องเจ็บตลอด อย่างนี้ผมจะไม่เล่น เพราะผิดหลักการจำกัดความเสี่ยง"
คนส่วนใหญ่มักจะมองน.พ.ยรรยงว่า เขาเป็น "นักเสี่ยงโชค" บางคนมองว่าเขาเป็น "นักพนัน" ด้วยซ้ำ ไม่ว่าใครจะให้คำ "จำกัดความ" ตัวเขาว่าอย่างไร? หมอก็ยังยืนยันว่าเขาเป็นคนที่ "ไม่ชอบเสี่ยง"
"ผมจบทางด้านวิทยา ศาสตร์ ผมจะเล่นด้วยเหตุผล อะไร?ที่คิดว่าเป็นความเสี่ยงผมจะไม่เล่น อะไร?ที่ผมมองว่าอนาคตไม่ดีผมจะไม่เล่น ไม่ใช่ว่าการที่ผมเป็นนักเก็งกำไร ผมต้องเล่นหุ้นสุ่มสี่สุ่มห้า เปล่า! เพราะถ้า "เสี่ยง" ผมไม่เข้า"
นี่คงเป็นบทสรุปชัดเจนว่า ทำไม! เขาจึงแตกต่างจากนักเก็งกำไรอื่นๆ
ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com/road/20020603/mar1.shtml
ชื่อของน.พ.ยรรยง พันธุ์วงศ์กล่อม โด่งดังขึ้นมาในราวต้นปี 2545 หลังจากที่เขาเข้ากว้านซื้อหุ้น บล.ซีมิโก้ จำนวน 5.095 ล้านหุ้น จนกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10.87% และใช้เวลาเพียงวันเดียวขายหุ้นทั้งหมดออกจากพอร์ต
จากนั้นชื่อของ น.พ.ยรรยง ก็ถูกดึงเข้าไปพัวพันกับสร้างราคาหุ้นของหลายบริษัท กระทั่งมีข่าวอีกว่าหมอใช้ "นอมินี" เข้าซื้อหุ้น บล.ยูไนเต็ด ร่วมกับ นายสมพงษ์ ชลคดีดำรงกุล หรือ "เสี่ยปู่" และเพื่อนร่วมก๊วนจนกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 14% ในโบรกเกอร์แห่งนี้
นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผู้คนในแวดวงตลาดหุ้นตั้งคำถามว่า ชายผู้นี้เป็นใคร?...มาจากไหน?
นักเลงหุ้นคนนี้มีความน่าสนใจมากกว่าการเป็นแค่ "นักเสี่ยงโชค"
น.พ.ยรรยง เริ่มลงทุนในตลาดหุ้นเมื่อปี 2532 ขณะที่ดัชนีประมาณ 600 จุด เคยผ่านวิกฤตการณ์ซัสดัมเมื่อปี 2533 ผ่านเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535 เคยผ่านยุคที่ตลาดหุ้นบูมสุดๆ เกือบ 1,800 จุด เมื่อต้นปี 2537 เคยผ่านเหตุการณ์ลอยตัวของค่าเงินบาท ปี 2540 และผ่านยุคตกต่ำที่สุดของตลาดหุ้นตอนดัชนีลงมาเหลือ 200 จุด เมื่อปี 2541
ไม่เพียงหมอรอดมาได้เท่านั้น แต่พอร์ตของเขากลับขยายเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด
ใน ยุคที่อิรักบุกคูเวตเมื่อปี 2533 น.พ.ยรรยงมีพอร์ตเล่นหุ้นเพียงแค่ 1-2 ล้านบาท เท่านั้น แต่วันนี้พอร์ตของหมอมีมูลค่าเฉียดพันล้านบาท หมอบอกว่า ปัจจุบันเขาซื้อขายหุ้นเฉลี่ยเดือนละ 1,000 ล้านบาท หรือปีละกว่า 10,000 ล้านบาท
เริ่มลงทุนด้วยเงิน 5 แสนบาท
เรียนจบทันตแพทย์จาก รั้วมหิดลใน ปี 2525 และกลายเป็นหมอฟันเด็กที่มีอนาคตรุ่งโรจน์คนหนึ่งของวงการ โดยเริ่มต้นอาชีพหมอฟันด้วยการร่วมทุนกับเพื่อนเปิดคลินิกแถวถนนเทเวศน์ ขณะนั้นหมอมีรายได้เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าเดือนละ 2 แสนบาท แต่หมอกลับคิดว่า "อาชีพหมอฟันไม่รวย แค่พอกินพอใช้เท่านั้น"
หมอเล่าว่าเริ่มเข้าสู่ ตลาดหุ้นเมื่อปี 2532 ขณะที่มีอายุประมาณ 31-32 ปี สมัยนั้นตลาดหุ้นเปิดครึ่งวันเช้า ช่วงเช้าหมอจะไปเล่นหุ้นช่วงบ่ายก็กลับคลินิก หมอทำอย่างนี้ประมาณ 3-4 ปี ก็ค้นพบว่าการเล่นหุ้นเป็นสิ่งที่ท้าทายกว่าอาชีพหมอฟัน เพราะโลกของหมออยู่แต่ภายในห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ ตั้งแต่เช้ายันเย็น
"ผม ชอบเล่นหมากรุก การเล่นหุ้นก็เหมือนการเดินหมาก ต้องใช้ความคิดตลอดเวลา ก็เลยตัดสินใจทิ้งอาชีพหมอฟันมาเล่นหุ้น ทั้งที่ตอนนั้นรายได้จากการเล่นหุ้นน้อยกว่ารายได้จากการทำฟัน" หมอเล่าให้ฟัง
"ตอนที่เริ่มสตาร์ทผมลงเงินไป 500,000 บาท ตอนนั้นเลือกหุ้นที่คิดว่ามี "ราคาถูก" ผมจะซื้อหุ้นที่ราคาตกลงมามากๆ เลือกหุ้นที่มีพี/อี เรโชต่ำ และซื้อหุ้นที่มีราคาต่ำกว่าพาร์ เพราะเราคิดว่าราคาถูก" นั่นคือสิ่งที่หมอบอกว่า เขาเริ่มต้นเล่นหุ้นจากที่ไม่มีความรู้อะไรเลย
ประสบการณ์เล่นหุ้น ช่วงแรกๆ จึงไม่ราบลื่น สิ่งที่หมอคิดว่า "ราคาถูก" และ "ปลอดภัย" กลับตรงกันข้าม เล่นช่วงแรกเจ๊งมาตลอดจนเหลือเงินอยู่ 180,000 บาท
สุดท้ายต้องกลับมาทบทวนใหม่แล้วค่อยๆ เรียนรู้ ถ้ามัวแต่ยึดข้อมูลในอดีต สักวันคงหมดตัวแน่!!!"
ตาม ความเห็นของหมอ หุ้นเป็น "Dynamic" ฉะนั้น 1+1 ในตลาดหุ้นไม่จำเป็นต้องได้ผลลัพธ์เท่ากับ 2 เสมอไป ทฤษฎีการลงทุนบางครั้งก็ใช้ไม่ได้ แต่ต้องให้ประสบการณ์เป็น "ครู"
"ผม ก็กลับมาทบทวนดูว่า ต้องเปลี่ยนวิธีเล่นใหม่ ก็ตั้งเป็นเกณฑ์ว่า เมื่อไรที่เราเล่นหุ้นมีกำไร นั่นแหละวิธีการที่ถูก เมื่อใดที่เราเล่นหุ้นขาดทุนนั่นแหละวิธีการที่ผิด"
เขาจึงได้บท สรุปว่า "จงทำตามแนวโน้มตลาด" อย่าฝืนเอาชนะ ดังนั้นกฎข้อแรกที่หมอได้เรียนรู้ ก็คือ "หุ้นยิ่งขึ้นต้องยิ่งซื้อ หุ้นยิ่งตกต้องยิ่งขาย"
เขาเชื่อในตรรกะที่ว่า "ในสวรรค์ยังมีสวรรค์ ในนรกยังมีนรก" ทำให้เขาค้นพบว่าวิธีการเล่นหุ้นที่ดีที่สุดต้องเล่นหุ้น "ตามกระแส" จึงอยู่รอดในวงการนี้
เงินเป็นแค่ "วัตถุ" ใช้ซื้อความสุขไม่ได้
ไม่ น่าเชื่อว่าเบื้องหลังนักเลงหุ้นพันล้านอย่างน.พ.ยรรยงกลับเรียบง่าย เป็นนักเล่นหุ้นติดดิน จนอาจจะเรียกว่า "หลุดกรอบ" วิถีชีวิตของคนรวย ตรงข้ามกับวิธีคิดที่เฉียบคม และอยู่ในขั้นปราดเปรื่องคนหนึ่งของวงการ
"ผม ว่าความสุขมันไม่ได้อยู่ที่สิ่งของ ไม่ใช่ว่ามีบ้านใหญ่แล้วจะนอนหลับ มันไม่เกี่ยว ความสุขมันไม่ได้อยู่ที่ว่าเงินคุณซื้อได้ ตอนนี้ผมอายุ 44 ปี อย่างมากผมก็อยู่ได้อีก 30 ปี ยังไงผมตายไป เงินผมก็ยังเหลือ" หมอบอก Biz&Money ไว้อย่างนั้น
คำนิยาม "ความสุข" ของน.พ.ยรรยง จึงแตกต่างจากหลายคน
หมอบอก ว่า นักเล่นหุ้นทั่วไปที่เขารู้จักส่วนใหญ่จะอยู่ในกรอบทั่วๆ ไป "แต่สำหรับผมจะหลุดกรอบออกมา อย่างเช่น เมืองนอกผมจะไม่ไปเลย จำได้ว่าเคยไปไกลสุด คือ สิงคโปร์ ผมชอบเที่ยวเมืองไทยมากกว่า ผมชอบการเดินป่าเป็นชีวิตจิตใจ ไปกี่ครั้งก็ไม่เบื่อ....นี่แหละคือความสุขของผม "
วันหยุด เสาร์-อาทิตย์ หมอชอบไปดูหนัง แต่วันธรรมดาหลังตลาดหุ้นปิดทุกเย็นหมอชอบไปวิ่งที่สวนลุม เขาให้เหตุผลว่าบรรยากาศก็ดี และไม่ต้องเสียตังค์...วันไหนที่หุ้นตก ก็จะวิ่งหลายรอบหน่อย!
แต่หมอไม่ชอบไปตีกอล์ฟ และจะเข้าฟิตเนสเป็นบางครั้ง แต่จะไม่เลือกที่เป็นของฝรั่ง(ที่อยู่ในตึกที่หมอเล่นหุ้น) ซึ่งเขาบอกว่า "ค่อนข้างจะ Anti ฝรั่งในเรื่องนี้"
โดยชีวิตส่วนตัวหมอบอกว่าตัว เองเป็นคนใช้เงินไม่เก่ง "10 ปีที่แล้วผมใช้เงินยังไง! วันนี้ก็ยังใช้เงินยังงั้น ปรัชญาของผมคิดว่าความสุขมันไม่ได้อยู่ที่เงิน การที่ผมทำเงินได้มาก เป็นเพราะผมชอบงานทางด้านนี้ ผมจะภูมิใจทุกครั้งที่ผมชนะมันมากกว่า"
แต่การใช้ชีวิตกลับตรงกัน ข้าม ยกตัวอย่างนาฬิกาทุกวันนี้เขาใส่ไซโก้เรือนละ 9 พันบาท "ถ้าเป็นเพื่อนๆ เขาก็ใส่โรเล็กซ์ ตัวผมไม่เคยให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้ ผมมองว่าคุณค่าในตัวผมมีค่ามากกว่าพวกเสื้อผ้า รองเท้า หรือนาฬิกามาก ผมเดินไปไหน คนที่รู้จักเขาก็รู้ว่าผมรวยอยู่แล้ว ดังนั้นไม่มีความจำเป็นต้องใส่ของแพงๆ เพื่อให้คนอื่นรู้ว่าผมรวย"
หมอยังกล่าวอีกว่าสไตล์การใช้ชีวิตจะเน้นแบบง่ายๆ ชอบซื้อเสื้อผ้าลดราคา และรถที่ใช้ทุกวันนี้ก็เป็นรถเก่า
"ผม ไม่เคยซื้อรถป้ายแดงใช้ เพราะผมมองว่าราคารถใหม่มันสูงเกินไปสำหรับเมืองไทย รถยุโรปราคาคันละ 1-2 ล้านบาท ผมรออีก 3 ปี ผมสามารถซื้อมันในราคา Discount 50% ผมซื้อรถผมไม่ได้ขับไปโชว์ใคร แต่ผมจะดูสมรรถนะของมันมากกว่า"
ปัจจุบันนี้หมอใช้รถวอลโว่ 850 ซึ่งเขาบอกว่า "ใช้มาแล้ว 6 ปี" ทุกครั้งที่จะซื้ออะไร? หมอจะมองที่ประโยชน์ของมันมากกว่า
"ซื้อ นาฬิกาค่าของมันอยู่ที่ "เวลา" ซื้อรถยนต์ ค่าของมันอยู่ที่ "สมรรถนะ"ในการขับ นี่คือคอนเซ็ปท์การใช้ชีวิตของผม อย่างเงินผมได้มาหลายร้อยล้านบาท ผมมี 500 ล้าน หรือมี 1 พันล้านบาทวันนี้ สำหรับผมมันไม่ได้ต่างกัน มันก็แค่ตัวเลข ยังไง! ผมก็ใช้ไม่หมด ทุกวันนี้ส่วนตัวใช้เงินแค่ 1-2 หมื่นบาทต่อเดือนเท่านั้น"
เงินที่ หามาได้ ส่วนหนึ่งหมอจะแบ่งไปทำบุญ "ตอนนี้ผมเอาไปทำบุญกับมูลนิธิสัตว์ ซื้ออาหารเลี้ยงหมา แมวจรจัดเดือนละ 1 แสนบาท ผ่านมูลนิธิของพี่สาวผม อีกส่วนหนึ่งก็ตั้งเป็นกองทุนการศึกษาให้กับเด็ก "สถาบันราชภัฏ" เป็นกองทุนประมาณ 5 แสนบาท ถ้าหมดก็ให้มาขอ คือ ถ้าผมทำอะไรเพื่อสังคมได้ ผมก็ทำ มันก็เป็นความสุขอีกอันหนึ่ง"
หมอกล่าวว่าทุกวันนี้ไม่เคย คิดว่า การเล่นหุ้นเป็นการหาเงิน "ผมไม่เคยมีเป้าหมายว่าจะต้องได้เงินเท่าไร? แต่ผมคิดว่าการเล่นหุ้นมันเป็นความสุข มันท้าทาย...วันนี้ถ้าผมลงทุนผิด ผมจะต้องไปนอนคิดว่าทำไม! มันถึงผิด"
ความฝันของหมอคือ เป็นเจ้าของ "โบรกเกอร์" อยากใช้เวทีนี้ให้ความรู้กับนักเล่นหุ้น "ผมตั้งใจมานานแล้ว" ก่อนหน้านี้เคยยื่นประมูล บล.ธนสยาม กับ บล.วชิระ ซิเคียวริตี้ส์ แล้วไม่ได้ จึงเข้ามาเป็นพันธมิตรกับ บล.ยูไนเต็ด "ใจของผมคืออยากเผยแพร่วิธีการเล่นหุ้นว่าทำไม! ผมถึงเล่นหุ้นแล้วได้กำไร"
"จริงๆ แล้วตอนนี้ผมมองเงินเป็นแค่วัตถุอย่างหนึ่ง ผมไม่ได้นอนนับเงินแล้วมีความสุข เดี๋ยวนี้มีหลายร้อยล้านผมก็ยังใช้ชีวิตเหมือนเดิม ยังใส่รองเท้าแตะมาเล่นหุ้นทุกวัน เงินสำหรับผมมันก็เป็นแค่ตัวเลขทางบัญชีเท่านั้นเอง" เขากล่าว
ทั้ง หมดนี้คือ ตัวตนที่แท้จริงของ"น.พ.ยรรยง พันธุ์วงศ์กล่อม" ผู้ร่ำรวยมาจากการเล่นหุ้น แต่เป็นอีกคนหนึ่งที่ไม่เคยคิดกอบโกยความสุขจากเงินที่หามาได้
ทฤษฎีจำกัดความเสี่ยง สูตรเล่นหุ้นนอกตำรา
บาง คนอาจจะลุกขึ้นมาฉีกตำราการลงทุนทิ้งเมื่อรู้ว่าความสำเร็จของน.พ.ยรรยง ไม่ได้เกิดจากการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานอย่างที่ร่ำเรียนกันมา
สำ หรับน.พ.ยรรยง ตำราเดียวที่อ้างอิงได้ก็คือ "ทฤษฎีจิตวิทยามวลชน" ถึงแม้เขาจะไม่ได้ใช้ศัพท์คำนี้มาอธิบาย แต่รูปแบบและวิธีลงทุนของเขาบ่งชี้ว่าเขาเล่นหุ้นแบบ "กระแสนิยม"
หมอ คนนี้มีหลักคิดแหวกแนวตั้งแต่ยังมีอาชีพ "หมอฟัน" เจ้าตัวบอกว่าเวลาจะคิดค่าทำฟันลูกค้า แทนที่จะกำหนดราคาตามป้ายแต่กลับคิดราคาตาม "ฐานะ" ของลูกค้าแต่ละคน
"ดูแล้วคนไหนรวยผมก็คิดแพง คนไหนไม่ค่อยมีเงิน ผมจะทำให้ฟรี" นี่คือวิธีการทำการค้าที่กรมการค้าภายในอาจไม่ชอบใจนัก
ถึงจะเล่นหุ้นนอกตำราแต่วิธีจำกัดความเสี่ยงที่หมอเรียกว่ากฎเอาตัวรอดสำหรับนักเล่นหุ้นระยะสั้นก็คือ
ถ้าขาดทุนต้องรีบ "Stop Loss" หมายถึง "รีบขายเพื่อหยุดยั้งการขาดทุน"
ถ้ายังมีกำไรให้ถือต่อไป ซึ่งในตำราฝรั่งเรียกว่า "Let the Profit Run"
และกฎอีกข้อหนึ่งคือ "เมื่อมีกำไรแล้วห้ามกลับมาขาดทุน"
ถ้า มีใครไปถามหมอว่า "ไปลอกกฎของฝรั่งมาเหรอ!" เขาจะรีบปฏิเสธและบอกว่า "ผมไม่ค่อยเชื่อวิธีของฝรั่ง ไม่เห็นว่าจะเก่งกว่าเราตรงไหนเลย..."
หมอมักย้ำเสมอว่า "ตำรา" ที่เขาใช้ คือ "ประสบการณ์" และเรียนรู้มาจากเพื่อนในวงการมากกว่า
อย่างไรก็ตาม "ทฤษฎีจำกัดความเสี่ยง" ของหมอ เป็นสิ่งที่น่าสนใจ และต้องนำมาขยายความเพิ่มเติม
วิธี จำกัดความเสี่ยงอันดับแรก คือ คุณต้องอ่านสภาวะตลาดหุ้นให้ออก ต้องตอบตัวเองได้ว่าพรุ่งนี้ หรืออาทิตย์หน้า หรืออีก 1 เดือนข้างหน้า ว่าตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไร? หุ้นที่ถืออยู่จะเป็นอย่างไร?
"ผมมองว่าอะไรที่ตอบไม่ได้ หรืออะไรที่คุณไม่รู้ คือ...ความเสี่ยง แต่อะไรที่คุณรู้ คือ..ไม่เสี่ยง" น.พ.ยรรยงกล่าว
ยก ตัวอย่างเช่นหุ้นบริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ (บาฟส์) "หุ้นตัวนี้ผมได้เงินเยอะ" ถ้าเราดูจากข่าวหนังสือพิมพ์ บาฟส์หาผู้แทนจัดจำหน่ายได้ดี และทำโฆษณาได้ดี คือ ออกทั้งวิทยุ หนังสือพิมพ์ และโทรทัศน์ มันทำให้เกิดกระแสนิยมขึ้นมา ทำให้ความต้องการหุ้นตัวนี้สูงขึ้นเรื่อยๆ
"ผมจะดูว่ากิจการเป็น อย่างไร? ผูกขาดรึเปล่า! รายได้ และกำไรเป็นอย่างไร? ผู้บริหารวางแผนเพิ่มสภาพคล่องโดยการแตกพาร์ เราก็จับจุดตรงนี้ รู้ว่ามวลชนมีความต้องการมาก ในแง่ของราคา IPO ก็ต่ำ จำนวนหุ้นที่ออกมาก็ไม่มาก ผมก็ได้ข้อสรุปตรงนี้ว่าผู้บริหารคงอยากจะให้หุ้นของตัวเองขึ้น"
จาก นั้นก็เจาะลงไปดูรายละเอียดของผู้บริหาร อย่างแรกเลยต้องรู้ว่าผู้ถือหุ้นเป็นใคร? ผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ การบินไทย 30% สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 10% บริษัทน้ำมัน 5 แห่ง ถือหุ้นรวมกัน 43% และการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย 6%
"ผมก็ตั้งคำถามว่าแล้วผู้ ถือหุ้นใหญ่จะขายหุ้นออกมั้ย! ผมก็ประเมินว่าเขาคงไม่ขายแน่! ดังนั้นถ้าผมเจอหุ้นอย่างนี้บอกได้เลยว่า "ได้เงิน" เพราะเราประเมินออกตั้งแต่แรกว่า หุ้นตัวนี้มีดีมานด์มากกว่าซัพพลาย ลักษณะการซื้อ คือ ผมจะซื้อหุ้นที่ประเมินแล้วว่าตลาดจะเกิด "ความนิยม" เพราะฉะนั้นความเสี่ยงจะต่ำ"
หมอตั้งข้อสังเกตว่า จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ถ้าพบว่าผู้บริหารตั้งใจจะเอาหุ้นเข้าตลาด "เพื่อขาย" หุ้นตัวนั้นจะไปไม่ไกล หลักในการดูตรงนี้ หมอบอกว่า...อันนี้ดูง่ายมาก
"ผมจะบอกหลักให้เลย ไปดู "สัดส่วน" ของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ถ้าผู้ถือหุ้นใหญ่ถือคนเดียว 20-30% อย่างนี้ไม่มีปัญหา แต่ถ้าไปดูแล้วเห็นสัดส่วนมันกระจายยาวเป็นหางว่าว อย่างนี้มีเจตนาชัดเจนว่าต้องการขายออก"
เช่นคนแรกถือ 15% คนที่สองถือ 7% คนที่ 3 ลงมาถือคนละ 5% ไล่ลงมาเหลือ 4% 3% 2% อย่างนี้บอกได้เลยว่ากระจายให้นอมินีถือแล้วตั้งใจขายออกหลังเข้าตลาด หุ้นประเภทนี้จะไปได้ไม่ไกล หมอจึงแนะนำว่าวันที่จะทำกำไรดีที่สุด ก็คือ "ขายวันแรก" แต่ถ้าเจอหุ้นดี เรามองออกว่าราคาจะไปไกล ดีที่สุด ก็คือ เราต้อง "ซื้อวันแรก"
หมอมีวิธีประเมินมูลค่าหุ้นอย่างไร?
อย่าง แรกต้องรู้พื้นฐานของหุ้นให้หมด เช่น P/E เท่าไร? Book Value เท่าไร? ยอดขายเท่าไร? กำไรเท่าไร? ผู้ถือหุ้นเป็นใคร? มีหุ้นจดทะเบียนกี่หุ้น สัดส่วนที่ถือมีใครบ้าง! อยู่ในมือผู้ถือหุ้นใหญ่กี่เปอร์เซ็นต์
"เวลา ผมจะซื้อหุ้นผมต้องรู้ข้อมูลพวกนี้ให้หมด แต่เวลาซื้อหุ้นจริงๆ จะไม่สนใจว่าราคาหุ้นสูงกว่า P/E กี่เท่า สูงกว่า Book Value กี่เท่า ผมไม่ได้นำมาใช้ตัดสินใจ เป็นแค่ตัวสนับสนุนว่าหุ้นที่เราซื้อมีพื้นฐานรองรับแค่ไหน"
ส่วน เรื่องราคา หมอคิดว่าจะมีกลไกตลาดรองรับเองว่าควรจะอยู่ตรงไหน! เขาจะไม่ค่อยให้ความสำคัญ แต่ยินดี "ซื้อแพง" ถ้ามั่นใจว่าสามารถ "ขายแพง" กว่าราคาที่ซื้อมา แต่สำหรับหุ้น IPO จากประสบการณ์ของหมอ ถ้าหุ้นตัวไหนที่มีความนิยมสูง ราคาหุ้นวันแรกจะ "เปิด" กระโดด
"ผม จะดูอารมณ์ของตลาด ถ้าน่าสนใจผมจะเข้าไปซื้อตอนเปิดตลาดวันแรก อย่างหุ้นบาฟส์ผมได้หุ้นจอง 60 บาท ราคาเปิดกระโดดวันแรก ผมก็เข้าเก็บที่ 94 บาท มาซื้ออีกทีที่ 100 บาท 110 บาท และ 120 บาท จากนั้นก็หยุดซื้อ พอขึ้นมา 140 กว่าบาท ผมก็ขาย"
เขาอธิบายอีกว่าเวลาได้หุ้นจองมา ส่วนหนึ่ง ก็จะมา "เฉลี่ย" กับ "ต้นทุน" ที่ซื้อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นี่คือหลักจำกัดความเสี่ยง "ฟังผมพูดเหมือนจะมีความเสี่ยง...แต่จริงๆ แล้วไม่มี เช่น ผมได้หุ้นจองมา 3 หมื่นหุ้น ในราคา 60 บาท พอเข้าตลาดวันแรกผมเริ่มซื้อที่ราคา 94 บาท สมมติซื้อเข้าไปอีก 3 หมื่นหุ้น ผมก็จะเฉลี่ยต้นทุนโดยเอา 60 บวก 94 หาร 2 ต้นทุนผมก็จะอยู่ที่ 77 บาท ก็ยังได้กำไรเยอะเมื่อเปรียบเทียบกับราคาในตลาด
แสดงว่าผมไม่มีความ เสี่ยงเลยใช่มั้ย!...เพราะทุกครั้งที่เรา "มีกำไร" เท่ากับว่าเรา "ไม่มีความเสี่ยง" ตราบใดที่เรา "ขาดทุน" ถึงจะเรียกว่ามี "ความเสี่ยง"
เขา เล่าว่าตอนที่จองหุ้นบาฟส์ได้หุ้นมาไม่เยอะ จำได้ว่าครั้งแรกเข้าไปซื้อที่ราคา 94 บาท ซื้อไปประมาณ 5 แสนหุ้น แล้วมาซื้อที่ 100 บาท อีกประมาณ 2-3 แสนหุ้น โดยทุกสเต็ปท์ที่ซื้อจะลดจำนวนหุ้นลงเรื่อยๆ
"วิธีการของผม ก็คือ เวลาที่ผมซื้อหุ้นขาขึ้น ผมจะลดสัดส่วนลงประมาณครึ่งหนึ่งทุกครั้ง"
สมมติ ว่าเขาเริ่มซื้อหุ้นบาฟส์ที่ราคา 94 บาท จำนวน 5 แสนหุ้น ซื้อที่ 100 บาทที่ 2.5 แสนหุ้น ซื้อที่ 110 บาทที่ 1.25 แสนหุ้น และซื้อที่ 120 บาทที่ 6.25 หมื่นหุ้น (เวลาซื้อหุ้นขาขึ้นจะลดจำนวนหุ้นลงสเต็ปท์ละ 50%) เขาจะใช้เงินไปทั้งหมด 93.25 ล้านบาท เท่ากับว่าต้นทุนเฉลี่ยของเขาจะอยู่ที่หุ้นละ 99.46 ล้านบาท
"ซื้อ อย่างนี้เพื่อให้ "ต้นทุน" เฉลี่ย "ต่ำกว่า" ราคาตลาด "พอเราเห็นว่าราคามันขึ้นไปเยอะก็รอดูอย่างเดียว เพื่อหาจังหวะขาย" เขาบอกเคล็ดลับนี้ให้ฟัง
ปรัชญาการจำกัดความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งของหมอ คือ เวลาหุ้นขึ้นมาแรงๆ ถ้าขึ้นมาถึง 50% ยังไง!ก็ขาย เพราะยังไง!หุ้นก็ต้องปรับตัวลง
และถ้าหุ้นลงมาถึง 50% ยังไง!ก็ต้องซื้อ เพราะยังไง!ก็ต้องปรับตัวขึ้น
"มันเหมือนกับเป็นสูตรในใจผมเลยว่าถ้าหุ้นขึ้น 50% ลง 50% ยังไง!ก็ต้องปรับตัว" เขาเชื่อเช่นนั้น
แต่ กรณีที่ซื้อแล้ว ราคามีแนวโน้มลดลง หมอจะไม่ยอมให้ "กำไร" กลับมาเป็น "ขาดทุน" อย่างเด็ดขาด เขาจะใช้วิธีลดความเสี่ยงโดยการทยอยขายหุ้นออกจากพอร์ต
น.พ.ยรรยง ได้อธิบายปรัชญาของเขาว่า "จะกำไรน้อย หรือกำไรมากไม่สำคัญเท่ากับ ทำยังไง!ก็ได้ไม่ให้กำไรต้องกลับมาเป็นขาดทุน เพราะมันเป็นวิธีเล่นหุ้นที่ผมถือว่าตัวเอง "โง่" มาก"
หมอสรุปให้ ฟังว่า กฎการจำกัดความเสี่ยงของเขาจริงๆ แล้วมีอยู่แค่ 4 ข้อ คือ หนึ่ง ขาดทุนต้อง "Cut Loss" (ยอมตัดขาดทุน) สอง ถ้ามีกำไรให้ถือต่อ สาม ถ้ามีกำไรห้ามกลับมาขาดทุน และสี่ ถ้าขาดทุนครั้งแรกต้องหยุดการลงทุน มิฉะนั้นจะทำผิดซ้ำสอง
"นี่คือกฎเกณฑ์ที่ผมจะยึดถือเอาไว้ตลอด ผมถือคติว่าถ้าเราผิดครั้งแรกแสดงว่าเราเริ่ม:-) มองหุ้นไม่ออก แสดงว่าสิ่งที่เรามองว่าถูกที่จริงมันผิด อย่างนี้ผมจะลงจากเวทีชั่วคราว"
หมอ ยังมีกฎอีกว่า จะไม่เล่นหุ้นที่มีสภาพคล่องต่ำ จะซื้อเฉพาะหุ้นที่มีสภาพคล่องซื้อขายสูง และจะเล่นเฉพาะหุ้นที่อยู่ใน "กระแสนิยม" ขณะนั้น
เขาเปรียบวิธีการเลือกหุ้นของตัวเองว่าเหมือน ดูเทรนด์แฟชั่น "สมมติว่าคนกำลังบ้าหลุยส์วิตตอง ผมก็จะซื้อหลุยส์วิตตอง ถ้าผมประเมินว่าหุ้นตัวนี้กำลังจะไป ดูข้อมูลทุกอย่างแล้วเข้าคอนเซ็ปท์ ผมจะเข้าไปซื้อเลยโดยไม่สนใจราคา แต่ถ้าคนเลิกเห่อ....ผมก็เลิกเล่น" ดังนั้นเขาจึงไม่สนใจว่าหุ้นที่ซื้อราคาจะ "ถูก" หรือ "แพง"
หากจะ ว่าไปแล้วสไตล์การเล่นหุ้นของน.พ.ยรรยงจัดว่า "เฉียบคม" อย่างยิ่ง เขากล่าวว่า "สไตล์ของผมคือเล่นหุ้นตาม "แฟชั่น" คือผมไม่ชอบนำแฟชั่น และไม่ชอบตามแฟชั่น แต่ผมจะ "เกาะกระแส" แฟชั่น เพราะผมเชื่อว่า นี่คือวิธีการจำกัดความเสี่ยงที่ดีที่สุด"
อาจจะพูดได้ว่าน.พ.ยรรยงก็คือ "นักเก็งกำไร" ที่เฉลียวฉลาด เพราะไม่ใช่แค่ตามแห่ แต่มีหลักการของการเก็งกำไรพอตัวทีเดียว
"วอลุ่ม" เป็นปัจจัยหนึ่งที่หมอใช้เป็นเงื่อนไขในการซื้อหรือขาย
ช่วง ไหนที่ตลาดไซด์เวย์วอลุ่มไม่ค่อยมี หมอจะหยุดดู และทำตัวเหมือนกับ "เหยี่ยว" ที่รอคอยจังหวะเข้าโฉบเหยื่อ เมื่อไรก็ตามที่เขาบอกตัวเองว่าช่วงนี้หุ้น "เล่นยาก" ลงทุนไปก็ไม่คุ้ม เขาจะหยุดเล่นเลย นี่เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ทำให้น.พ.ยรรยงแตกต่างจากนักเก็งกำไรทั่วไป
นัก เล่นหุ้นคนนี้ล่ำซำมาได้ไม่ใช่เพราะ "โชคดี" แต่เป็นเพราะเขาเลือกจับเฉพาะ "ปลาใหญ่" และกล้า "วางเดิมพันหมดหน้าตัก" ในช่วงที่ตลาดหุ้นบูม เพราะเขามองว่าเป็นช่วงจังหวะที่ดีที่สุดของการทำกำไร และ "จำกัดความเสี่ยง"
จากประสบการณ์ที่ผ่านมา น.พ.ยรรยงเชื่อว่า ตลาดหุ้นมี "ฤดูกาล" ของมัน ในแต่ละปีจะมีช่วง "นาทีทอง" อย่างน้อย 1-2 เดือน และเขาจะไม่ยอมปล่อยให้โอกาสทองนี้หลุดมือ
เขาเผยว่า จะไม่เล่นหุ้นแบบ "ทอดแห" และไม่ซื้อหุ้นโดยไม่มีเป้าหมาย "ผมถือคติว่าจะไม่จับปลาเล็ก ผมชอบจับ "ปลาวาฬ" วิธีการคือ จะซื้อหุ้นน้อยตัว แต่จะซื้อทีละเยอะๆ โดยมองผลตอบแทนต่อครั้งประมาณ 20-30% หรืออย่างน้อยก็ต้อง 10% ขึ้นไป
สำหรับนักลงทุนรายย่อยที่เขาเห็น ส่วนใหญ่จะซื้อขายหุ้นบ่อยเกินไป และหวังกำไรเพียงแค่ 3-4% ก็ขาย น.พ.ยรรยงบอกว่า "ภาษานักเล่นหุ้นเขาเรียกว่า "กินน้ำหวานบนปลายมีด" คือได้รับผลตอบแทนน้อย แต่ลิ้นคุณต้องเจ็บตลอด อย่างนี้ผมจะไม่เล่น เพราะผิดหลักการจำกัดความเสี่ยง"
คนส่วนใหญ่มักจะมองน.พ.ยรรยงว่า เขาเป็น "นักเสี่ยงโชค" บางคนมองว่าเขาเป็น "นักพนัน" ด้วยซ้ำ ไม่ว่าใครจะให้คำ "จำกัดความ" ตัวเขาว่าอย่างไร? หมอก็ยังยืนยันว่าเขาเป็นคนที่ "ไม่ชอบเสี่ยง"
"ผมจบทางด้านวิทยา ศาสตร์ ผมจะเล่นด้วยเหตุผล อะไร?ที่คิดว่าเป็นความเสี่ยงผมจะไม่เล่น อะไร?ที่ผมมองว่าอนาคตไม่ดีผมจะไม่เล่น ไม่ใช่ว่าการที่ผมเป็นนักเก็งกำไร ผมต้องเล่นหุ้นสุ่มสี่สุ่มห้า เปล่า! เพราะถ้า "เสี่ยง" ผมไม่เข้า"
นี่คงเป็นบทสรุปชัดเจนว่า ทำไม! เขาจึงแตกต่างจากนักเก็งกำไรอื่นๆ
ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com/road/20020603/mar1.shtml